วิสัยทัศน์/พันธกิจ

วิสัยทัศน์/พันธกิจ





ปี ๒๕๕๖ - ๒๕๖๑
"นครภูเก็ต เป็นนครแห่งการสร้างสรรค์ และน่าอยู่อย่างยั่งยืน"
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาของเทศบาลนครภูเก็ต แบ่งเป็น ๘ ยุทธศาสตร์ ดังนี้

๑. ยุทธศาสตร์สร้างสรรค์การศึกษา 
ประกอบด้วย ๖ แนวทางการพัฒนา ดังนี้
       ๑. พัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน ให้เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียน มีทักษะชีวิต สามารถแสดงศักยภาพในเชิงสร้างสรรค์ ตลอดจนเรียนรู้ วิถีชีวิต วัฒนธรรม ของตนเอง และกลุ่มประเทศอาเซียน 
       ๒. ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาศักยภาพนักเรียนทุกกลุ่ม ในทุกด้าน แบบบูรณาการ โดยยึด คุณธรรม นำความรู้และหลักเศรษฐกิจพอเพียง (ดี เก่งและมีความสุข) 
       ๓. สร้างการมีส่วนร่วมและส่งเสริม บทบาท ภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ และสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานรัฐ 
       ๔. ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาศักยภาพ สวัสดิการ ความก้าวหน้าในอาชีพรวมทั้งสร้าง ขวัญและกำลังใจที่ดีให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา 
      ๕. สร้างและ พัฒนาแหล่งเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์
      ๖. ก่อสร้าง ปรับปรุง อาคารสถานที่ สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ตลอดจนจัดหาอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน เครื่องมือเครื่องใช้ ให้เพียงพอและทันสมัย 
๒. ยุทธศาสตร์สร้างสรรค์สังคม 
ประกอบด้วย ๓ แนวทางการพัฒนา ดังนี้
        ๑. ส่งเสริม สนับสนุน สร้างความเข้มแข็งของชุมชน และสถาบันทางสังคม
        ๒. รณรงค์ สร้างจิตสำนึกของคนในสังคม ให้ตระหนักในหน้าที่ มีคุณธรรม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ปกป้องและเทิดทูนสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
        ๓. ส่งเสริม สนับสนุน บทบาทการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการพัฒนาเมือง 

 ๓. ยุทธศาสตร์สร้างสรรค์ สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรร 
มชาติ ประกอบด้วย ๔ แนวทางการพัฒนา ดังนี้ 
      ๑. บริหารจัดการ ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสียแบบครบวงจรด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมภายใต้การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
      ๒. ปรับปรุงและพัฒนาสวนสาธารณะ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจให้ได้มาตรฐานและเพิ่มพื้นที่สีเขียว
      ๓. รณรงค์ สร้างจิตสำนึกและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
      ๔. เสริมสร้างขีดความสามารถของเมืองในการรับมือและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

๔. ยุทธศาสตร์สร้างสรรค์คุณภาพชีวิต 
ประกอบด้วย ๕ แนวทางการพัฒนา ดังนี้
      ๑. พัฒนา สุขาภิบาลอาหาร อนามัยสิ่งแวดล้อม และอาชีวอนามัย
      ๒. ส่งเสริม สนับสนุน การรักษาความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
      ๓. ส่งเสริม สนับสนุน การดูแลรักษาสุขภาพกาย สุขภาพใจ การป้องกันโรคแบบเชิงรุกการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวม โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
      ๔. ส่งเสริม สนับสนุน สวัสดิการทางสังคมให้ครอบคลุม แก่คนทุกกลุ่ม และสงเคราะห์ ช่วยเหลือผู้เดือดร้อนและด้อยโอกาส
       ๕. รณรงค์ ป้องกัน และสร้างภูมิคุ้มกันปัญหายาเสพติด และโรคเอดส์ โดยร่วมมือกับ องค์กรเครือข่ายอื่น


๕. ยุทธศาสตร์สร้างสรรค์ การบริหารจัดการ 
ประกอบด้วย ๔ แนวทางการพัฒนา ดังนี้
      ๑. สรรหา พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตบริการ ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุน สวัสดิการพนักงาน
      ๒ บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล และพัฒนาระบบงาน โดยมุ่งประโยชน์ประชาชนเป็นศูนย์กลางของการบริหาร
       ๓. พัฒนา เพิ่มประสิทธิภาพ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารเพื่อการบริการประชาชนให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว
       ๔. ปรับปรุง พัฒนาอาคารสถานที่ เพื่อการบริการประชาชน

 ๖. ยุทธศาสตร์สร้างสรรค์ โครงสร้างพื้นฐาน   
ประกอบด้วย ๕ แนวทางการพัฒนา ดังนี้
       ๑. ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษา ถนน ทางเท้า สะพาน ระบบการจราจร ให้ได้มาตรฐาน สะดวก ปลอดภัย คงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เมืองและเอื้อต่อผู้ด้อยโอกาส
       ๒. ปรับปรุง บำรุงรักษา และพัฒนาระบบไฟฟ้าสาธารณะแสงสว่าง ให้สว่างครอบคลุมพื้นที่ในเขตเทศบาล สวยงาม เป็นระเบียบ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับการขยายตัวของเมือง 
       ๓. พัฒนาการบริหารจัดการ ระบบการผลิต การจำหน่ายและการบริการน้ำประปาให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เพียงพอ และครอบคลุมพื้นที่ภายในเขตเทศบาล
       ๔ จัดหาเครื่องมือ ก่อสร้าง ปรับปรุง สถานีจัดการน้ำ เขื่อน และขยายเส้นทางการ ระบายน้ำในเขตเมือง โดยดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแบบบูรณาการ
       ๕.เสริม สนับสนุน การออกแบบและจัดระเบียบเมือง เพื่อเมืองน่าอยู่และน่าเยือน

 ๗. ยุทธศาสตร์สร้างสรรค์ เศรษฐกิจ 
ประกอบด้วย ๓ แนวทางการพัฒนา ดังนี้ 
       ๑. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตเมือง บนพื้นฐานความสุขของชุมชนเจ้าบ้าน
       ๒. ส่งเสริม พัฒนา และยกระดับทักษะฝีมือร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างขีด ความสามารถในการประกอบอาชีพ บนฐานความรู้และความคิดสร้างสรรค์ ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
       ๓. ส่งเสริม และสนับสนุน การวิจัยผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและพัฒนาสินค้าและบริการ
      
๘. ยุทธศาสตร์สร้างสรรค์ อัตลักษณ์ 
ประกอบด้วย ๔ แนวทางการพัฒนา ดังนี้ 
       ๑. จัดกิจกรรม ยกย่องเชิดชูบรรพชน และปราชญ์ท้องถิ่นด้านต่าง ๆเพื่อดำรงไว้ซึ่งภูมิ ปัญญาและวิถีชีวิตท้องถิ่น 
       ๒. เสริมสร้างจิตสำนึก และการมีส่วนร่วม (เป็นเจ้าภาพร่วม) ให้เกิดความรักและภาคภูมิใจในวัฒนธรรมถิ่นกำเนิด และอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมพหุชาติพันธุ์ 
       ๓. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดงานประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงวันสำคัญทาง ศาสนา
       ๔. อนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่น